thai.txt 6.1 KB

1234567891011121314
  1. ภาษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาซิโน-ทิเบตัน
  2. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ สำหรับชาวต่างชาติที่เริ่มเรียนภาษาไทยจะรู้สึกว่ายาก เพราะการออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย
  3. สระประสม
  4. สระประสม เกิดจากการเลื่อนของลิ้นในระดับสูง ลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สระเลื่อน มี 3 เสียงดังนี้
  5. ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เอียะ เอือะ อัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
  6. วรรณยุกต์
  7. เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
  8. ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
  9. ประวัติศาสตร์
  10. อักษรไทยปรับปรุงมาจาก อักษรขอม ในที่นี้ ขอมที่ว่า คือคำที่ คนไทยทางเหนือใช้เรียกคนไทยทางใต้ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามานานแล้วว่า พวกขอม ขอมที่ว่าจึงเป็นขอมที่เป็นไทสยาม การนำภาษาขอม (หรือไทสยาม) มาปรับเป็นภาษาไทยที่ใช้ในปัจจุบัน นั้น นักวิชาการจำนวนหนึ่ง ในช่วงปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา พร้อมหลักฐานการศึกษาใหม่เชื่อว่า เป็นการปรับใช้มาจากในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2223) ซึ่งตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับของปัจจุบันมากที่สุด
  11. ในอีกทฤษฎีหนึ่งได้มีการกล่าวไว้ว่า ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ท่าน ทรงประดิษฐ์อักษรที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น และ มีการเรียกกันว่าเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยนั้น มีการสืบอายุกลับไปเพียงประมาณ 700 ปี ซึ่งแท้จริงแล้ว "ลายสือไท" น่าจะเป็นหนึ่งในการพัฒนาอักษรไทย ในหลายๆ สาย ซึ่งจริงๆ แล้วไทสยาม ได้มีอักษรใช้กันมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยเป็นการวิวัฒน์มาจาก อักษรพราหมี และ ปัลลวะ ซึ่งเป็นแบบตัวอักษรที่นำมาจากอินเดียตอนเหนือและตอนใต้ตามลำดับ[1] ตามหลักฐานที่น่าเชื่อมากกว่ายืนยันว่า ชาติสยาม มีอักษรใช้มานานแล้ว นับได้เป็นพันปี คิดเป็นจำนวนปี ได้ 1400 ปีมาแล้วโดยประมาณ